วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 1


บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย
               การศึกษาเป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพประเทศที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศมักจะเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษา เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคนและการจัดการศึกษา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้นั้น ผู้ศึกษาต้องเป็นผู้ใฝ่รู้ มีการหาความรู้อยู่เสมอ ซึ่งทักษะที่จำเป็นในการศึกษาค้นคว้าก็คือ ทักษะการอ่านดังที่ บันลือ พฤกษะวัน (ชุติวรรณ เจริญสุข, 2556: ออนไลน์) ได้กล่าวไว้ว่า การอ่านถือว่ามีความสำคัญมากเพราะเป็นทักษะพื้นฐานทางภาษาที่ใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษา ทักษะการอ่านเป็นทักษะที่นักภาษาศาสตร์ยอมรับว่า เป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่สุด เป็นพื้นฐานที่สำคัญแก่การเรียนรู้สรรพวิทยาการทั้งปวง ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าทักษะการอ่านเป็นทักษะที่จำเป็นที่สุด  ผู้ที่เป็นนักปราชญ์และผู้ที่มีชื่อเสียงเกือบทั้งหมดจะเป็นนักอ่านเพราะเขาเหล่านั้นแสวงหาความรู้จากการอ่านทั้งสิ้นจะเห็นได้ว่าความก้าวหน้าในสาขาวิชาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวิทยาศาสตร์  ทางสังคม หรือทางการศึกษาล้วนเกิดจากการเรียนรู้ที่ได้จากการอ่านแทบทั้งสิ้น

          สำหรับประเทศไทยนั้นสำนักงานสถิติแห่งชาติ (nso,2555:ออนไลน์)ได้มีการสำรวจการอ่านหนังสือของประชากรในปี พ.ศ. 2546 พบว่า ประชากรที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป มีจำนวน 57.8 ล้านคน เป็นผู้อ่านหนังสือ 35.4 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 61.2 และผู้ที่ไม่อ่านหนังสือ22.4 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 38.8 และสาเหตุหลักที่ไม่อ่านหนังสือจากจำนวนผู้ที่ไม่อ่านหนังสือล้านคน ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.4ชอบฟังวิทยุและดูทีวีมากกว่า รองลงมาคือไม่มีเวลาอ่าน (ร้อยละ 48.1) และไม่ชอบอ่านหรือไม่สนใจ (ร้อยละ45.5) และที่น่าตกใจก็คือ คนไทยอ่านหนังสือน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามและสิงคโปร์ (bookandreading ,2555:ออนไลน์) ในขณะที่เวียดนามอ่านหนังสือเฉลี่ยปีละ 60เล่ม และสิงคโปร์45 เล่ม คนไทยอ่านเพียงปีละ 2เล่มเท่านั้น จากการสำรวจของเอเบคโพลล์ เกี่ยวกับพฤติกรรมการอ่านหนังสือของเยาวชนในปี 2549 (abcp,2555:ออนไลน์พบว่า เยาวชนไทยในเมืองใหญ่ชอบดูทีวีมากกว่าอ่านหนังสือ   ส่วนใหญ่นิยมซื้อหนังสือขำขัน การ์ตูน ขณะที่เพียงร้อยละ 10 อ่านหนังสือเรียนทุกวัน

                ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงเล็งเห็นถึงปัญหาที่จะศึกษาพฤติกรรมการอ่านของนักเรียนพะเยาพิทยาคมว่าสนใจหนังสือประเภทใดมากที่สุด โดยจะนำข้อมูลที่ได้มารวบรวม เพื่อที่จะปรับปรุงพฤติกรรมการอ่านของนักเรียนให้หันมาอ่านหนังสือและใช้เวลาให้เกิดประโยชน์มากกว่านี้


วัตถุประสงค์ของการวิจัย
                1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม
                2. เพื่อศึกษาประเภทหนังสือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5     โรงเรียนพะเยาพิทยาคม

สมมุติฐานของการวิจัย
                พฤติกรรมการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคมส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบการอ่านหนังสือที่ให้ความรู้ จะอ่านเฉพาะหนังสือที่ให้แต่ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน

ขอบเขตของการวิจัย
                1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม จำนวน 30 คน
                2. ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2555 – กุมภาพันธ์ 2556


นิยามศัพท์เฉพาะ
                หนังสือ (Book) หมายถึง สิ่งที่รวบรวมข้อมูลประเภทตัวอักษร และรูปภาพลงในกระดาษ แล้วนำมาเย็บเล่มเข้าด้วยกัน หนังสือมักเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล ความรู้ วรรณกรรมต่างๆเป็นต้น

                หนังสือพิมพ์ (Newspaper) หมายถึง หนังสือที่มีวัตถุประสงค์หลักในการให้ข่าวสารปัจจุบันแก่ผู้อ่าน

นิสัยรักการอ่าน หมายถึง พฤติกรรมการอ่านหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์ที่เกิดจากความชอบ เห็นความสำคัญและประโยชน์จากการอ่าน  การใช้เวลาว่างเพื่อการอ่านและอ่านหนังสือหรือสิ่งพิมพ์เป็นประจำจนเป็นนิสัย

                 การพัฒนานิสัยรักการอ่าน หมายถึง พฤติกรรมของนักศึกษาในการอ่านหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้ดำเนินการตามกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และได้มีการอ่านอย่างมีคุณภาพและเป็นประจำจนเป็นนิสัย

               คุณภาพการอ่าน หมายถึง พฤติกรรมการอ่านของนักศึกษาที่เกิดจากความอยาก ความต้องการ ความสนใจ อ่านได้อย่างคล่องแคล่ว มีความสุขในการอ่าน และอ่านหนังสือและสิ่งพิมพ์ได้อย่างหลากหลายประเภท

                 กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน หมายถึง การกำหนดให้อ่านหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์ รวมทั้งตำราเรียนที่ต้องอ่านอย่างสม่ำเสมอ หลากหลายประเภทและอ่านหนังสืออย่างต่อเนื่อง หลังการอ่านให้มีการจดบันทึกสาระสำคัญที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ลงในสมุดบันทึกการอ่าน

                 การมีส่วนร่วม หมายถึง กระบวนการที่ผู้สอนและผู้เรียนได้ร่วมกันในการกำหนดเป้าหมาย
กำหนดรายละเอียดของกิจกรรม วิธีการตรวจสอบ และการประเมินผล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น